เมนู

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


1. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของสมนันตรปัจจัย

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ และ
พึงแสดง หทยวัตถุ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[347] 1. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
อาสวธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ (วาระที่ 1-3)
4. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อ
มานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ ศีล ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ มี 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9)

10. ปุเรชาตปัจจัย


[348] 1. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ
พึงให้พิสดารอย่างนี้.
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.